ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2563 ณ โรงแรมมิราเคิล สนามบินสุวรรณภูมิ สมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย หรือ
Thai Subcon ได้จัดการประชุมคณะกรรมการบริหารสมาคมชุดใหม่ โดยได้ดึงทีมผู้บริหารคนรุ่นใหม่จากบริษัทสมาชิก และเรียนเชิญที่ปรึกษาจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา มาช่วยนำเสนอแผนงาน แนวความคิด โครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะช่วยพลิกวิกฤตเศรษฐกิจของสมาชิกให้เดินหน้าได้อย่างเข้มแข็ง





                 สมาคมไทยซับคอน ได้รวมกลุ่มบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆ ทั้งชิ้นส่วนโลหะ ยาง พลาสติก อิเล็กทรอนิกส์ บรรจุภัณฑ์
รวมไปถึงงานบริการบำรุงซ่อมแซมเครื่องจักร โดยสมาชิกสามารถสนับสนุนและผลิตชิ้นส่วนได้เกือบทุกอุตสาหกรรม ในปีที่ผ่านมาสมาคม
Thai Subcon ได้จัดกิจกรรมที่สำคัญ ๆ ให้กับสมาชิก เช่น (1) ร่วมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างและพัฒนาคลัสเตอร์
ยานยนต์แห่งอนาคตและคลัสเตอร์อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (2) ร่วมวิจัยพัฒนาและผลิตชุดหน้ากากป้องกันเชื้อโรคแบบคลุมศีรษะพร้อมชุดกรองอากาศประสิทธิภาพสูง (
PAPRs) ร่วมกับโรงพยาบาลและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เพื่อใช้ทดแทนการนำเข้าหน้ากาก N95 โดยได้บริจาคไปยังโรงพยาบาลต่าง ๆ แล้วมากกว่า 1,000 ชุด (3) ร่วมกันกับสมาชิกผลิตและรวบรวมของบริจาคอุปกรณ์ป้องกัน Covid-19 เช่น ถุงมือทางการแพทย์, หน้ากากอนามัย, กล่องอะคลิลิค เป็นต้น บริจาคให้กับโรงพยาบาลต่าง ๆ มากกว่า 60 แห่ง
ทั่วประเทศไทย (4) จัดงานแสดงสินค้า
Subcon Thailand ที่ ซึ่งเป็นงานแสดงชิ้นส่วนอุตสาหกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน โดยมีการจัดงานให้กับสมาชิกทุกปี และในปีนี้ก็จัดเป็นปีที่ 16 แล้ว (5) ได้รับความอนุเคราะห์จาก สสว. กองทัพอากาศ และบริษัทอุตสาหกรรมการบิน จำกัด (TAI) เปิดโอกาสให้สมาชิกผู้ประกอบการได้เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานกิจการของ TAI ณ ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน
กองบิน 2 จ. ลพบุรี และที่อำเภอตาคลี จ. นครสวรรค์ (6) นอกจากนี้ยังมีโอกาสได้ร่วมมือกับบริษัท
TAI ทำโครงการโดรนต้นแบบ
ให้ผู้ประกอบการไทยได้มีโอกาสที่จะผลิตชิ้นส่วนโดรนให้กับกองทัพอากาศ และยังได้ร่วมวิจัย พัฒนา และผลิตอุปกรณ์ภาคพื้น (
Ground Equipment Service) โดยคนไทย สำหรับใช้ในศูนย์ซ่อมอากาศยานของ TAI เป็นต้น





              แนวทางการดำเนินงานของสมาคมฯ ในวาระปี 2563 – 2565 นี้ นายเกียรติศักดิ์ จิระขจรวงศ์ นายกสมาคม ได้แถลงวิสัยทัศน์เพื่อเดินหน้าสมาคมไว้ 2 ประการ คือ
1. สมาคมมีความเข็มแข็ง เป็นที่พึ่งและกระดูกสันหลังของกลุ่มอุตสาหกรรมไทย

2. สมาคมมีชื่อเสียงในระดับสากลเป็นที่ยอมรับจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ



                        หนึ่งในนโยบายที่ตอบรับวิสัยทัศน์ ดังกล่าว คือการผลักดันสมาชิก   สู่การเป็นผู้ผลิตในอุตสาหกรรมใหม่ ใน
S-Curve ซึ่งไทยซับคอนสามารถรวมกลุ่มสมาชิก สร้างคลัสเตอร์ได้เข้มแข็งในระดับหนึ่งแล้ว จำนวน 5 คลัสเตอร์ ได้แก่ (1) คลัสเตอร์อุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติเพื่อการอุตสาหกรรม  (2)  คลัสเตอร์อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (3) คลัสเตอร์อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (4)  คลัสเตอร์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ  (5)  คลัสเตอร์อุตสาหกรรมระบบราง     โดยสมาคมฯ  ต้องเชื่อมโยงสมาชิกให้เข้าถึงผู้ซื้อ
ให้ได้รับการถ่ายทอดความรู้ และเทคโนโลยีในอุตสาหกรรม
S -Curve ใหม่  ๆ   สมาชิก  Thai Subcon   นั้นมีความเชี่ยวชาญในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่ต้องใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่    ประกอบกับอุตสาหกรรมยานยนต์มีการแข่งขันค่อนข้างสูง  สมาชิกจึงต้องพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น อุตสาหกรรมใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นชิ้นส่วนอะไร  Thai Subcon   จึงพูดได้เต็มปากว่าสมาชิกของเราสามารถทำได้หมด เพียงแต่ต้องได้รับโอกาส ในการผลิต ให้สมาชิกไทยซับคอนได้เป็นจุดเริ่มต้น เป็นก้าวแรก ๆ ที่จะสร้าง Supply chain ของอุตสาหกรรม S-Curve ให้กับประเทศชาติ  หากวันนี้ภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุน สมาชิก Thai Subcon แน่นอนว่าต่อไปประเทศไทยจะพึ่งพาตนเองได้  ไม่ต้องนำเข้าชิ้นส่วนอุปกรณ์ในอุตสาหกรรม S-Curve จากต่างประเทศเหมือนในอดีตอีกต่อไป